เอ็นพีเอการบัญชี

ค่าลดหย่อน2563


ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

#ค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว
* ค่าลดหย่อนส่วนตัว ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท ทันทีที่ยื่นแบบแสดงรายได้
* ค่าลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท แต่ต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส และไม่มีรายได้ หรือมีรายได้แต่เลือกคำนวณภาษีพร้อมกัน โดยในส่วนนี้ควรเตรียมเอกสารทะเบียนสมรสไว้ด้วย
* ค่าลดหย่อนบุตร ลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อลูก 1 คน
* ค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 จะได้ค่าลดหย่อนเพิ่มอีก 60,000 บาท จากนโยบายการส่งเสริมคนไทยให้มีลูกเพิ่มขึ้น ส่วนนี้ควรเตรียมเอกสารสูจิบัตร หรือใบรับรองบุตรไว้ยืนพร้อมการยื่นภาษี
* ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ลดหย่อนได้ไม่เกินปีละ 60,000 บาท (หากภรรยาไม่มีเงินได้ สามีสามารถนำค่าใช้จ่ายตรงนี้ที่เกิดขึ้นจริงไปลดหย่อนภาษีได้)
* ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ซึ่งต้องอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน (รวมพ่อแม่ของคู่สมรส) แต่หากมีพี่น้องและพี่น้องของเราใช้สิทธิ์ไปแล้ว เราจะไม่สามารถใช้สิทธิตรงนี้ได้
* ค่าอุปการะคนพิการ หรือ คนทุพพลภาพ ลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อคน หากเป็นผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ และระบุชื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลในบัตรประจำตัวคนพิการ ส่วนคนทุพพลภาพ จะต้องเป็นผู้ทุพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน มีใบรับรองแพทย์ที่ออกในปีภาษีขอใช้สิทธิหักลดหย่อน และมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

#ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุน
* ประกันสังคม ที่ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี
* เบี้ยประกันชีวิต หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
* เบี้ยประกันสุขภาพ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน100,000 บาท
* เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ได้ไม่เกิน 15,000 บาท
* ประกันชีวิตคู่สมรส หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ 10,000 บาท
* เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้และไม่เกิน 490,000 บาทจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี
* เงินสะสมกองทุน กบข.และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ ไม่เกิน 500,000 บาท
* เงินสะสม กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท
* เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้และต้องไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และ RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
* กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ต้องซื้อและถือครองเอาไว้อย่างน้อย 7 ปี ( ปีสุดท้ายสำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนในการ ยื่นภาษี)
* กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท และต้องลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี

#ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์
* ดอกเบี้ยบ้าน สำหรับผู้ที่กู้เงินซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายไปมาลดหย่อนได้ตามจริงได้ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท
* โครงการบ้านหลังแรก ปี พ.ศ. 2558 กรณีบ้านหรือคอนโดหลังแรกราคาไม่เกิน 3,000,000 บาท คุณสามารถนำ 20% ของค่าบ้านมาลดหย่อนภาษีได้ 5 ปี (ได้ปีละ 4%)
* ซื้อบ้านหลังแรกในปี พ.ศ. 2562 ลดหย่อนได้ไม่เกิน 200,000 บาท แต่บ้านที่ซื้อต้องราคาไม่เกิน 5,000,000 บาท
เงินบริจาค
* บริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สถานพยาบาลของรัฐ สนับสนุนการกีฬา และเงินบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ สามารถหักได้ 2 เท่า ตามที่จ่ายจริงแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้พึ่งประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆแล้ว
* เงินบริจาคช่วยเหลืออุทกภัยน้ำท่วมจากพายุปาบึก ลดหย่อนได้ตามบริจาคจริง
* เงินบริจาคทั่วไป ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
* เงินบริจาคให้พรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

#ค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
* ซื้อสินค้าการศึกษาและกีฬา ไม่เกิน 15,000 บาท
* ซื้อหนังสือ ไม่เกิน 15,000 บาท
* ซื้อสินค้าโอทอป ไม่เกิน 15,000 บาท
* ท่องเที่ยวไทยในเมืองหลัก 15,000 บาท เมืองรอง 20,000 บาท (2 อันรวมกันไม่เกิน 20,000 บาท)
* ค่าซ่อมบ้านหรือรถจากพายุปาบึก ตามจริงไม่เกิน 100,000 บาท และซ่อมรถตามจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
* ค่าซ่อมบ้าน และรถที่ประสบภัยจากพายุโพดุล พายุคาจิกิ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตามจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับอสังหาริมทรัพย์ และรถไม่เกิน 30,000 บาท