เอ็นพีเอการบัญชี

การทำบัญชี ขั้นตอนที่6


การกระทบยอดก่อนปิดงบและหลังปิดงบ

         การทำบัญชี ขั้นตอนที่6 การกระทบยอดก่อนปิดงบและหลังปิดงบ โดยเริ่มจากงบดุล  งบกำไรขาดทุน  และงบต้นทุนตามลำดับ  

#ส่วนของงบดุลให้กระทบยอดพิสูจน์ดังนี้
#เงินสดมีมากเกินไปให้ปรับปรุงรายการ  ไม่ควรถือเกิน 50,000  สำหรับกิจการขนาดเล็กถึงกิจการขนาดกลาง  ส่วนกิจการขนาดใหญ่ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของกิจการนั้นๆ
#เงินฝากธนาคาร (ถ้ามี) กระทบยอดให้ตรงกับบุ๊คแบงค์  
#ลูกหนี้การค้า (ถ้ามี) กระทบยอดให้ตรงกับรายละเอียดของลูกหนี้การค้าแต่ละราย  
#สินค้าคงเหลือ (ถ้ามี) กระทบยอดให้ตรงกับรายงานการตรวจนับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม  หรือวันสิ้นรอบบัญชีนั้นๆ
#ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฝั่งสินทรัพย์ (ถ้ามี) กระทบยอดให้ตรงกับแบบภพ.30 (ชำระไว้เกิน)  ส่วนฝั่งหนี้สิน (ถ้ามี) กระทบยอดให้ตรงกับแบบภพ.30 (ต้องชำระ)
#อาคาร โรงงาน ที่ดิน, เครื่องจักรและอุปกรณ์โรงงาน, อุปกรณ์สำนักงาน, ยานพาหนะ (ถ้ามี) กระทบยอดให้ตรงกับทะเบียนทรัพย์สิน+ค่าเสื่อมราคา
#บัญชีตัวอื่นๆ ทั้งหมด ให้กระทบยอดเช่นเดียวกันดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

#ส่วนของงบกำไรขาดทุน ให้ใช้สูตร %/Sale ในการตรวจสอบวิเคราะห์ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  ผลต่างของ % +,- ไม่ควรมากกว่าหรือน้อยกว่า 3% เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

#ส่วนของงบต้นทุน  แยกให้ชัดเจนระหว่างวัตถุดิบทางตรง/วัตถุดิบทางอ้อม  เงินเดือนค่าแรงของสำนักงานและโรงงาน  ค่าไฟฟ้าสำนักงานและโรงงาน  อื่นๆ  เป็นต้น